การตกตะกอน ทำให้น้ำใสโดยสารส้ม

Admin

การตกตะกอนทำให้น้ำใสโดยสารส้ม คือการเติมสารส้มลงไปในน้ำเพื่อลดประจุไฟฟ้าทำให้อนุภาคที่แขวนลอยอยู่ในน้ำมีขนาดใหญ่ขึ้นสามารถแยกออกจากน้ำได้ง่าย หรือเรียกว่าเป็น กระบวนการโคแอกกูเลชั่น (Coagulation)

สารแขวนลอยคืออะไร
สารแขวนลอย (Suspension) หมายถึง สารที่ประกอบด้วยอนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่กว่า 10-4 เซนติเมตรแพร่อยู่ในของเหลวยิ่งถ้ามีขนาดใหญ่มากก็จะมองเห็นได้ชัดเจนและตกตะกอนได้

โดยสารส้มจะไปทำหน้าที่ในการทำลายเสถียรภาพอนุภาคคอยลอยด์ เมื่ออนุภาคคอลลอยด์ที่หมดเสถียรภาพแล้วเคลื่อนที่มาสัมผัสและเกาะจับกันเป็นกลุ่มก้อนหรือฟล็อคคูเลชั่น (Flocculation) ขนาดใหญ่ขึ้น



รูปที่ 1. สารส้มเมื่อละลายน้ำจะมีการแตกตัวทำให้เกิดอิออนที่มีประจุบวกเกาะกับอนุภาคคอยลอยด์เป็นปุ๋ยตะกอน


วิธีการทำการตกตะกอนโดยสารส้ม
1.แกว่งสารส้มในน้ำ


ทำการแกว่งสารส้มในน้ำจนกระทั่งสังเกตเห็นตะกอนเริ่มจับตัว ซึ่งอาจใช้เวลามากน้อยต่างกันไปตามปริมาตรและลักษณะของน้ำ โดยทำการแกว่งที่ความลึกประมาณ 2/3 ส่วนของความลึกน้ำจากผิวน้ำ แล้วตั้งทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีตะกอนจะตกลงสู่ก้นถัง ได้น้ำใสนำไปใช้

2.เติมสารละลายสารส้มในน้ำ กวนด้วยเครื่อง Mixer


ทำการเติมสารละลายสารส้มในน้ำ กวนด้วยความเร็วรอบสูง ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ หลังจากนั้นทำการกวนด้วยความเร็วรอบต่ำ ในระยะเวลาที่นานขึ้น จนกระทั่งสังเกตเห็นตะกอนเริ่มจับตัวรวมเป็นก้อนใหญ่ขึ้น ตั้งทิ้งไว้ตะกอนจะตกลงสู่ก้นภาชนะ ก็จะได้น้ำใสนำไปใช้